ลูกล้อโพลียูรีเทน ลูกล้อยูรีเทน คุณน่าจะเคยได้ยินลูกล้อชื่อแบบนี้
ลูกล้อที่มีชื่อคล้ายกันก็จริง แต่มีหลายสิ่งหลายอย่างที่แตกต่างกัน
บทความนี้ Rhino Caster Wheel มาไขความต่าง ระหว่างลูกล้อโพลียูรีเทน และลูกล้อยูรีเทน ว่าทั้งสองแบบแตกต่างกันยังไง ทั้งในเรื่องของวัสดุ คุณสมบัติ ข้อดี-ข้อเสีย และการใช้งาน
ความแตกต่างทางวัสดุ
ยูรีเทน
ยูรีเทนเป็นสารประกอบผลึกที่มีความยืดหยุ่น และอ่อนตัวสูง นิยมนำมาใช้แทนยางธรรมชาติ สามารถนำมาใช้ขึ้นรูปตามรูปแบบ และขนาดที่ต้องการได้
นอกจากนี้ยูรีเทนยังมีคุณสมบัติรับน้ำหนัก และการบีบอัดค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานได้ดี สามารถรับน้ำหนักหยุดนิ่งได้เป็นเวลานานโดยไม่เสียรูปทรงล้อ
สามารถผสมสีอื่น ๆ เข้าไปได้ เพิ่มความหลากหลายของเนื้อวัสดุ มีคุณสมบัติทนต่อรังสีอุลตร้าไวโอเลต และมีอายุของการใช้งานที่ยาวนาน
โพลียูรีเทน
โพลียูรีเทนมีลักษณะคล้ายกับยูรีเทนค่ะ แต่ต่างกันตรงที่ โพลียูรีเทน มีการผสมของสารประกอบที่มากกว่า (โพลี แปลว่า มากหรือสารพัด) จึงถูกเรียกว่า โพลียูรีเทน
นิยมนำมาใช้แทนยางธรรมชาติเช่นเดียวกัน แต่โพลียูรีเทนเป็นพลาสติกชนิดเทอร์โมเซ็ต คือไม่สามารถหลอมเหลวขึ้นรูปใหม่ได้ ไม่สามารถนำกลับมาหลอมซ้ำได้ เพราะต้องอาศัยสารประกอบจำนวนมาก แต่สามารถผลิตออกมาได้หลายรูปแบบ และสามารถนำมาผสมสี PI เพื่อเพิ่มสีสันของลูกล้อได้ค่ะ
ความแตกต่างทางคุณสมบัติ
ยูรีเทน
- แข็งแรง ทนทาน มีเสถียรภาพ
- ทนต่อรอยขีดข่วน และผิวขรุขระต่าง ๆ
- ทนต่อการเสียดสีได้ดี
- สามารถรับน้ำหนักคงที่ได้เป็นเวลานาน
โพลียูรีเทน
- แข็งแรง ทนทานเป็นพิเศษ
- ทนต่อรอยขีดข่วน
- ทนต่อการเสียดสีได้ดี
- ทนต่อน้ำมัน
- ทนต่อสภาพอุณหภูมิได้ตั้งแต่ -40 องศาเซลเซียส ถึง 100 องศาเซลเซียส
- สามารถรับน้ำหนักคงที่ได้เป็นเวลานาน
ความแตกต่างทางการใช้งาน
ยูรีเทน
เหมาะกับการใช้งานร่วมกับเฟอร์นิเจอร์ภายในอาคารได้เป็นอย่างดี เช่น เก้าอี้สำนักงาน โต๊ะ โซฟา ตู้เก็บของ หรือแม้แต่เค้าท์เตอร์ต่าง ๆ
ด้วยคุณสมบัติที่แข็งแรง ทนทาน ไม่ฉีกขาดง่าย ไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวน ไม่ทำให้พื้นเป็นรอย ไม่ทิ้งคราบให้พื้นสกปรก และไม่ยุบตัวแม้จะต้องรองรับน้ำหนักอยู่นิ่ง ๆ เป็นเวลานาน
สามารถใช้ได้ดีในพื้นผิวเรียบ เช่น กระเบื้อง พื้นไม้ พื้นปูน หรือหินอ่อน
โพลียูรีเทน
เหมาะกับการใช้งานในทุกสภาพพื้นผิวทั้งภายในอาคาร และภายนอกอาคาร โดยไม่ทำให้พื้นเป็นคราบหรือรอยสกปรก
สามารถใช้ร่วมกับเฟอร์นิเจอร์ที่มีน้ำหนักเบาไปจนถึงน้ำหนักมาก สามารถใช้บนพื้นผิวที่ขรุขระ หรือพื้นปนเปื้อนน้ำมันได้เป็นอย่างดี ทนทานต่อสารกัดกร่อน สามารถใช้ในห้องทดลองทางเคมีได้
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในห้องที่มีอุณหภูมิร้อน และเย็นได้โดยไม่ส่งผลเสียต่อการทำงานของลูกล้อ มีความทนทาน แข็งแรง ทนต่อการเสียดสี และสามารถรับน้ำหนักหยุดนิ่งได้เวลานาน
สรุป
ยูรีเทน และโพลียูรีเทน เป็นวัสดุที่มีสารตั้งต้นเหมือนกัน แต่มีสารประกอบที่แตกต่างกันค่ะ
โพลียูรีเทน มีสารประกอบที่หลากหลายมากกว่า เพื่อเพิ่มคุณสมบัติบางประการเข้าไป ให้ลูกล้อโพลียูรีเทนสามารถใช้งานได้หลากหลายมากขึ้นนั่นเอง
ยูรีเทน และโพลียูรีเทน สามารถนำมาผสมสี เพื่อเพิ่มความสวยงามของลูกล้อและตอบโจทย์ความต้องการได้มากขึ้น
ส่วนการเลือกใช้ลูกล้อยูรีเทน หรือลูกล้อโพลียูรีเทน ก็ขึ้นอยู่กับโจทย์และความต้องการในการนำไปใช้งานของคุณค่ะ