สรุปครบ จบทุกเรื่องเบรคของลูกล้อ ฉบับเข้าใจง่าย

สรุปครบ จบทุกเรื่องเบรคของลูกล้อ ฉบับเข้าใจง่าย-featured image

เบรคลูกล้อ ใครว่าไม่สำคัญ ก็คงต้องขอเถียง เพราะลูกล้อที่ไร้เบรค ก็เหมือนการเคลื่อนที่ที่ไร้การควบคุม ยิ่งถ้าลูกล้อนั้นประกอบเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ รถเข็นอุปกรณ์ในโรงงาน หรือรถเข็นสำหรับผู้ป่วย ก็ต้องบอกว่าเบรคคือสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ค่ะ

เพราะเบรคจะช่วยควบคุมลูกล้อไม่ให้เคลื่อนที่ หรือหมุนไปมาได้ เมื่อคุณต้องการความปลอดภัยต่อตัวเองและสิ่งของรอบตัว เพราะหากรถเข็นที่บรรทุกของหนัก แต่ไม่มีเบรค ก็อาจส่งผลให้รถเข็นลื่นไหลหรือเลื่อนไหล ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งของภายในพื้นที่ได้ หรือรถเข็นผู้ป่วยที่ไม่มีเบรค ก็อาจทำให้ลื่นไหลหรือเลื่อนไหลไปในทิศทางที่อันตรายส่งผลต่อชีวิตผู้ป่วยได้ค่ะ

แน่นอนว่าเบรคของลูกล้อมีหลายแบบแตกต่างกันไป แต่ในบทความนี้ Rhino Caster Wheel จะกล่าวถึงเบรคทั่วไปที่คุณสามารถพบเห็นได้มากที่สุด พร้อมลักษณะการใช้งานและประสิทธิภาพของเบรคแต่ละแบบ เพื่อให้คุณสามารถเลือกใช้เบรคได้เหมาะสมกับธุรกิจและการใช้งานมากที่สุดค่ะ

เบรคด้านข้าง

การใช้งานลูกล้อเบรคล็อกด้านข้าง ทำได้โดยใช้เท้าเหยียบหรือใช้มือบิดที่เบรคก็ได้ ขึ้นอยู่กับขนาดและการใช้งาน เมื่อใช้มือบิดที่เบรค ช่องว่างระหว่างลูกล้อกับแป้นเบรคจะชิดเข้าหากัน เกิดแรงเสียดทานที่เกิดจากการสัมผัสหน้าพื้นผิวของลูกล้อกับตัวเบรค ช่วยป้องกันไม่ให้ล้อเคลื่อนที่ไปมา

เบรคชนิดนี้ราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับเบรคชนิดอื่น ๆ เหมาะกับลูกล้อที่ไม่ได้รับน้ำหนักมากนัก เพราะแรงเสียดทานเกิดขึ้นได้น้อยกว่าการล็อกด้วยเบรคแบบอื่น

เบรคหน้าสัมผัส

ลูกล้อเบรคหน้าสัมผัส (Face Contact Brakes)

เป็นเบรคที่ใช้แรงกดบนพื้นผิวของลูกล้อ เวลาใช้เบรคคุณจะรู้สึกว่าเบรคสัมผัสกับลูกล้อ ในหลายกรณีกลไกในการล็อกเบรคเป็นแบบแป้นเหยียบ ด้วยเหตุนี้คุณอาจได้ยินคำว่า “เบรคเหยียบ” แต่การเหยียบก็เป็นเพียงการใช้กลไกของเบรคเพื่อให้สัมผัสกับล้อ เบรคประเภทอื่น ๆ ก็ใช้แป้นเหยียบด้วยเช่นกัน

ลูกล้อเบรคหน้าสัมผัส 2

รูปด้านบนเป็นเบรคแบบหน้าสัมผัสอีกรูปแบบหนึ่ง คุณจะเห็นได้ว่ารูปร่างของเบรคจะแตกต่างจากตัวเบรคอื่น ๆ เพราะมีแป้นเบรคแยกออกมาจากตัวแป้นเชื่อมกับลูกล้อชัดเจนค่ะ

การใช้งานจะใช้วิธีการบิดโลหะที่ทำการเชื่อมกับตัวแป้นเบรค เมื่อหมุนสกรูให้แป้นเบรคชิดกับหน้าลูกล้อ ก็จะทำให้ล้อหยุดหมุนได้ค่ะ

เบรคลักษณะนี้จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมแรงกดระหว่างตัวเบรคกับลูกล้อได้มากหรือน้อยตามความต้องการค่ะ

เบรคล็อกแบบ 2 จังหวะ

เบรคล็อกแบบ 2 จังหวะ ถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการใช้ล็อกลูกล้อค่ะ

เพราะล็อก 2 จังหวะตามชื่อจริง ๆ ด้วยการเหยียบแป้นเบรคด้วยเท้าง่าย ๆ ก็ป้องกันจังหวะที่ 1 คือการเคลื่อนที่ของลูกล้อ และจังหวะที่ 2 คือการหมุนของลูกล้อค่ะ

เบรคประเภทนี้มีประสิทธิภาพในการล็อกที่แน่นหนากว่าเบรคประเภทอื่น

เบรคครอบ เบรคลวด

เบรคประเภทนี้เหมาะสำหรับการใช้งานกับล้อนั่งร้านแบบยาง

การใช้งานก็ง่ายมาก เพียงแค่เหยียบคันเบรคให้สุด ก็สามารถล๊อกลูกล้อไม่ให้เคลื่อนที่ได้แล้วค่ะ

สรุป

ถึงตรงนี้ คุณคงทราบแล้วว่าเบรคที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปมีกี่ประเภท ความแตกต่างของเบรคแต่ละแบบเป็นอย่างไร และเหตุผลที่ทำให้คุณเลือกเบรคแบบหนึ่งเหนือเบรคอีกแบบหนึ่งก็คือ การใช้งาน อายุการใช้งาน และที่สำคัญที่สุดคือความปลอดภัยค่ะ

เลือกเบรคให้เหมาะสมกับธุรกิจ การใช้งาน หรือโปรเจคของคุณ เพราะการป้องกันความผิดพลาดย่อมดีกว่าการแก้ไขทีหลังแน่นอนค่ะ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า